บทความ

Homeeasycash  มีบทความแนะนำความรู้ ประสบการณ์ แนะนำเกี่ยวกับการเงิน การจำนอง จำนำในรูปแบบบ้านและที่ดินต่าง ๆ 

เครดิตบูโร หรือบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด เป็นสถาบันที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการจัดเก็บข้อมูลบัญชีสินเชื่อและประวัติการชำระสินเชื่อทุกประเภทของบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล​ซึ่งส่งมาจากสถ​าบันการเงินและบริษัทที่เป็นสมาชิกเครดิตบูโร
โดยข้อมูลเครดิตที่จัดเก็บหรือรายงานในเครดิตบูโรแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ
1. ข้อมูลบ่งชี้ คือข้อเท็จจริงที่บ่งชี้ถึงตัวลูกค้า ได้แก่ ข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ชื่อ-นามสกุล เลขที่บัตรประชาชน วันเดือนปีเกิด ซึ่งไม่มีการจัดเก็บหมายเลขโทรศัพท์, ข้อมูลที่อยู่ที่ลูกค้าแจ้งกับสถานบันการเงินและบริษัทที่เป็นสมาชิกเครดิตบูโร
2. ข้อมูลสินเชื่อที่ได้รับอนุมัติและประวัติการชำระหนี้จำแนกเป้นรายบัญชีที่มีอยู่ในแต่ละสถาบันการเงินและบริษัทสมาชิก โดยมีข้อมูลที่สำคัญดังนี้ สรุปข้อมูลบัญชีสินเชื่อ ซึ่งจะบอกว่าลูกค้ามีสินเชื่ออยู่ทั้งหมดกี่บัญชี มีจำนวนบัญชีที่ใช้สิทธิแก้ไขข้อมูลหรือโต้แย้งกี่บัญชี, ประเภทและเลขที่บัญชีของสินเชื่อ, ชื่อผู้ให้สินเชื่อ, วงเงินที่ได้รับอนุมัติ และวงเงินที่ใช้ไป, สถานะของบัญชี เช่น ปกติ ปิดบัญชี พักชำระหนี้ ค้างชำระหนี้, รายละเอียดการชำระหนี้ ซึ่งจะแสดงประวัติการชำระหนี้ที่ผ่านมา ทั้งที่ชำระตรง ชำระล่าช้า หรือผิดนัดชำระ, ข้อมูลอื่นๆ เช่น วันที่เปิดบัญชี วันที่ชำระหนี้ล่าสุด วันที่ปิดบัญชี วันที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้

วิธีการเช็กเครดิตบูโรด้วยตัวเองมี 7 ช่องทาง
 1. ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร
 – ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร อาคารเดอะไนน์ทาวเวอร์ แกรนด์ พระราม 9 ชั้น 2 (โซนพลาซา) อยู่ใกล้สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT พระราม 9 และอยู่ด้านหลังห้างเซ็นทรัล พระราม 9 เปิดทำการ วันจันทร์-ศุกร์ 9.00-16.30 น. (หยุดวันนักขัตฤกษ์)
– เครดิตบูโรคาเฟ่ อาคารเพิร์ล แบงก์ค็อก ชั้น3 (โซนอาคาร) (BTS สถานีอารีย์ ทางออก1) ให้บริการผ่านตู้ตรวจเครดิตบูโรด้วยตนเอง (ตู้อีออส) เท่านั้น เปิดทำการ วันจันทร์-ศุกร์ 9.00-18.00 น. (หยุดวันนักขัตฤกษ์)
– ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร สถานีรถไฟฟ้า BTS ศาลาแดง (ภายในสถานี) เปิดทำการ วันจันทร์-ศุกร์ 9.00-18.00 น. (หยุดวันนักขัตฤกษ์)
– ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร ห้าง เจ-เวนิว (นวนคร) ชั้น 3 ติดประกันสังคม เปิดทำการ วันจันทร์-อาทิตย์ 9.00-18.00 น. (เปิดทุกวันไม่มีวันหยุด)
2. เคาน์เตอร์ธนาคาร (แจ้งเจ้าหน้าที่ที่เคาน์เตอร์และใช้บัตรประชาชนของตนเอง)
– ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
– ธนาคารกรุงไทย
– ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.)
– ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
3. ธนาคารออนไลน์ (มีบัญชีธนาคารทำรายการผ่านเว็บไซต์)
– ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
4. ธนาคารบนมือถือ
– โมบายแบงก์กิ้งธนาคารกรุงเทพ (รับรายงานข้อมูลเครดิต และเครดิตสกอริ่ง ทางอีเมลได้ทันที)
– โมบายแอป KKP Mobile ธนาคารเกียรตินาคินภัทร (รับรายงานข้อมูลเครดิต และเครดิตสกอริ่ง ทางอีเมลได้ทันที)
– โมบายแอป Krungthai NEXT ธนาคารกรุงไทย (รับรายงานข้อมูลเครดิตและเครดิตสกอริ่งทางอีเมล ภายใน 24 ชม. หรือทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ภายใน 7 วันทำการ)
– โมบายแอป MyMo ธนาคารออนสิน (รับรายงานข้อมูลเครดิตและเครดิตสกอริ่งทางอีเมล ภายใน 24 ชม. หรือทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ภายใน 7 วันทำการ)
– โมบายแอป ttb touch ธนาคารทีทีบี (รับรายงานทางอีเมลภายใน 3 วันทำการ หรือทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ภายใน 7 วันทำการ)
– เป๋าตังเปย์ บนแอปเป๋าตัง (รับรายงานข้อมูลเครดิตและเครดิตสกอริ่งทางอีเมล ภายใน 24 ชม. หรือทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ภายใน 7 วันทำการ)
– โมบายแอป Flash Express (รับรายงานข้อมูลเครดิตและเครดิตสกอริ่งทางอีเมล ภายใน 24 ชม. หรือทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ภายใน 7 วันทำการ)
5. แอปพลิเคชั่น “ทางรัฐ”
6.
ตู้ ATM (มีบัญชีธนาคารไหนใช้ตู้ ATM นั้น)
– ธนาคารกรุงไทย
– ธนาคารไทยพาณิชย์
7. ที่ทำการไปรษณีย์และเคาน์เตอร์บริการไปรษณีย์ทุกแห่ง ทั่วประเทศ

ขอบคุณข้อมูลจาก : บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด
สนใจจำนอง-ขายฝาก หรือปรึกษาปัญหา ติดต่อเราได้ทาง
Line: @homeeasycash
เบอร์โทร: 087-512-4936

หลายคนยังคงสงสัยคำว่า “อสังหาริมทรัพย์” และ “สังหาริมทรัพย์” แต่ละคำนั้นมีกี่ประเภทแล้วแตกต่างกันอย่างไร

อสังหาริมทรัพย์ หมายถึง ทรัพย์สินที่ไม่สามารถเคลื่อนย้านได้ หรือหากต้องการจะเคลื่อนย้ายหรือทำลายก็ทำได้ยาก อย่างเช่น อาคาร บ้านเรือน โรงงาน สำนักงาน รวมถึงที่ดิน ไม้ยืนต้นและทรัพยากรทางธรรมชาติ อาทิ แม่น้ำ บึง แร่ กรวด ทราย ที่เป็นทรัพย์สินที่อยู่บนที่ดินนั้นๆ ก็จัดว่าเป็นอสังหาริมทรัพย์ เช่นกัน นอกจากนี้การถือครองอสังหาริมทรัพย์ไว้ในระยะยาวก็สามารถเพิ่มมูลค่าให้กับผู้ที่ถือครองได้ในอนาคต

ลักษณะเด่นของอสังหาริมทรัพย์
อสังหาริมทรัพย์ มีลักษณะเด่นที่จะช่วยกำหนดมูลค่าของอสังหาริมทรัพย์ให้กับนักลงทุน โดยสามารถแบ่งออกได้ 4 ลักษณะ ดังนี้
1. มูลค่าของอสังหาริมทรัพย์ขึ้นอยู่กับปัจจัยภายนอก ไม่ได้ขึ้นอยู่กับทรัพย์สินแต่ละขึ้นอยู่กับทำเลที่ตั้งและสภาวะเศรษฐกิจมากกว่าทรัพย์สินที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ อย่างเช่น ช่วงที่สภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ราคาของอสังหาริมทรัพย์ก็จะตกลงไปด้วย นักลงทุนจึงมักที่จะซื้ออสังหาริมทรัพย์เหล่านั้น เพื่อนำไปขายต่อในภายหลังที่สภาวะเศรษฐกิจดีขึ้นจะส่งผลให้อสังหาริมทรัพย์นั้นมีราคาที่สูงขึ้น
2. อสังหาริมทรัพย์ใช้ระยะเวลาค่อนข้างนานกว่าในการเปลี่ยนเป็นเงินสด การถือครองอสังหาริมทรัพย์มีความเสี่ยงมากกว่าการถือครองเงินสด เนื่องจากอสังหาริมทรัพย์นั้นมีราคาที่ค่อนข้างสูง ทำให้ผู้ซื้อต้องใช้เงินจำนวนมาก หรือต้องผ่านการขอสินเชื่อจากธนาคาร เพื่อนำเงินมาซื้ออสังหาริมทรัพย์นั้น ดังนั้นกว่าที่ผู้ขายจะสามารถขายและรับเงินก้อนโตมาได้ ต้องใช้ระยะเวลาในการพิจารณาค่อนข้างนาน
3. ราคาอสังหาริมทรัพย์มักเพิ่มขึ้นอยู่เสมอ ส่งผลให้เจ้าของพื้นที่ปล่อยราคาขาย เช่า และขายฝากไว้ในระยะยาวเพื่อรอให้อสังหาริมทรัพย์มีมูลค่าสูงขึ้นได้
4. อสังหาริมทรัพย์มีอายุขัยที่ยาวนาน อสังหาริมทรัพย์มีอายุขัยการใช้งานได้ถึง 50-100 ปี ผู้ที่ถือครองอสังหาริมทรัพย์ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินนั้น จะทำให้เจ้าของที่ถือครองอสังหาริมทรัพย์สามารถสร้างประโยชน์ได้จาการขายฝากหรือปล่อยเช่า เพื่อสร้างรายได้ในระยะยาวได้

ประเภทของอสังหาริมทรัพย์แบ่งตามการใช้สอย แบ่งออกเป็น 5 ประเภท
1.
อสังหาริมทรัพย์เพื่อเกษตรกรรม เช่น ไร่นา สวน และพื้นที่หรือสิ่งปลูกสร้างสำหรับการเกษตรกรรม
2. อสังหาริมทรัพย์เพื่ออยู่อาศัย เช่น บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์โฮม คอนโด บ้านจัดสรร
3. อสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์ เช่น อาคารสำนักงาน ห้างสรรพสินค้า ตลาดสด ศูนย์ประชุม
4. อสังหาริมทรัพย์เพื่อการอุตสาหกรรม เช่น โรงงาน โกดัง และสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ ที่อยู่ในนิคมอุตสาหกรรม
5. อสังหาริมทรัพย์เพื่อการพัหผ่อน เช่น โรงแรม รีสอร์ท บังกะโล

ประเภทของอสังหาริมทรัพย์ตามนิยามจากประมวลแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 39 ระบุไว้ว่า ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์สำหรับใช้เป็นที่อยู่อาศัย เกษตรกรรม อุตสาหกรรม การพาณิชย์ และเป็นพื้นที่พักผ่อน ต้องประกอบไปด้วย 3 ปัจจัย ดังนี้
1.
ที่ดิน ประเภทที่ดินที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ ได้แก่ พื้นที่ราบ ภูเขา หนอง คลอง บึง ห้วย ทะเลสาบ ชายทะเล และเกาะ
2. ทรัพย์อันติดกับที่ดิน ประเภททรัพย์ที่ติดกับที่ดินที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ ได้แก่ บ้านทุกประเภท อาคาร
3. ทรัพย์ซึ่งประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดิน ประเภททรัพย์เป็นอันเดียวกับที่ดินที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ ได้แก่ พื้นที่ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติอย่างแม่น้ำ ลำคลอง พื้นที่กรวดทราย และแร่ธาตุในพื้นที่ที่ผู้ขายเป็นเจ้าของ
นอกจากทั้ง 3 ปัจจัยแล้ว ยังมีทรัพย์สิทธิที่เจ้าของกรรมสิทธิ์ต้องแสดงหลักฐานในการยืนยันความเป็นเจ้าของอีกด้วย ได้แก่ เอกสารกรรมสิทธิ์, เอกสารสิทธิครอบครอง, สัญญาภาระจำยอม, ใบสิทธิอาศัย, ใบสิทธิเหนือพื้นดิน, ใบสิทธิเก็บกิน และสัญญาภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์

สังหาริมทรัพย์ หมายถึง ทรัพย์สินที่ไม่อยู่ติดกับพื้นดิน สามารถเคลื่อนย้ายได้และสามารถติดตัวไปไหนมาไหนได้ เช่น รถยนต์ กระเป๋า รองเท้า เสื้อผ้า โทรศัพท์มือถือ เครื่องประดับ นอกจากนี้ยังมี สิทธิบัตร หรือลิขสิทธิ์ ก็จัดได้ว่าเป็นสังหาริมทรัพย์ เช่นกัน

ประเภทของสังหาริมทรัพย์
1. สังหาริมทรัพย์ทั่วไป คือ ทรัพย์สินที่เคลื่อนที่ได้ด้วยแรงธรรมชาติหรือกายภาพ เช่น รถยนต์ รถจักรยานยนต์
2. สังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ คือ กฎหมายกำหนดให้เป็นพิเศษ หากต้องมีการจำหน่าย จ่าย หรือโอนให้กัน จะต้องมีการทำนิติกรรมต่อเจ้าหน้าที่พนักงานเหมือนอสังหาริมทรัพย์ เช่น เรือกลไฟ เรือที่มีระวางห้าตัน สัตว์พาหนะ

สรุปถึงความแตกต่างระหว่างอสังหาริมทรัพย์ และสังหาริมทรัพย์ให้เข้าใจกันง่ายๆ
ประเภท
อสังหาริมทรัพย์ : ทรัพย์สินที่ติดกับที่ดิน ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้
สังหาริมทรัพย์ : ทรัพย์อื่นที่นอกเหนือจากอสังหาริมทรัพย์ สามารถเคลื่อนย้ายได้

ทรัพย์สิน
อสังหาริมทรัพย์ : สิ่งปลูกสร้าง บ้านเรือน อาคาร ที่ดิน พื้นที่ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ
สังหาริมทรัพย์ : รถยนต์ เครื่องประดับ สิทธิบัตร ลิขสิทธิ์

ระยะการครอบครองปรปักษ์
อสังหาริมทรัพย์ : ระยะครอบครองปรปักษ์ 10 ปี
สังหาริมทรัพย์ : ระยะครอบครองปรปักษ์ 5 ปี

ทรัพย์สิทธิ
อสังหาริมทรัพย์ : มีทรัพย์สิทธิ เช่น สิทธิอาศัย สิทธิครองที่ดิน
สังหาริมทรัพย์ : ไม่มีทรัพย์สิทธิ

การยืนยันเป็นเจ้าของ
อสังหาริมทรัพย์ : เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ต้องมีเอกสารยืนยันเจ้าของกรรมสิทธิ์
สังหาริมทรัพย์ : เจ้าของสังหาริมทรัพย์ไม่จำเป็นต้องแสดงเอกสารยืนยันเจ้าของกรรมสิทธิ์

มูลค่า
อสังหาริมทรัพย์ : มีมูลค่าเพิ่มขึ้นทุกปี
สังหาริมทรัพย์ : มีมูลค่าต่ำลงตามอายุการใช้งาน

สนใจจำนอง-ขายฝาก หรือปรึกษาปัญหา ติดต่อเราได้ทาง
Line: @homeeasycash
เบอร์โทร: 087-512-4936

เช็กก่อนซื้อ! สีตราครุฑบนโฉนดที่ดิน คืออะไร

การรู้สีของตราครุฑในโฉนดที่ดินเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้คุณเข้าใจสถานะของที่ดินนั้นๆ และสามารถดำเนินการซื้อขายได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยประเทศไทยมีตราครุฑ 4 สี

1. ครุฑสีแดง – โฉนดที่ดิน น.ส.4 (โฉนดที่ดินครุฑแดง) เป็นโฉนดที่ดินที่ปลอดภัยที่สุด เพราะผู้ถือครองกรรมสิทธิ์ มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน 100% ผู้ถือครองเป็นเจ้าของที่ดินมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินอย่างสมบูรณ์ สามารถใช้เพื่ออยู่อาศัย ทำกิน ทำการซื้อขาย โอน จดจำนอง หรือใช้ค้ำประกัน ได้ตามกฎหมาย ถือว่าเป็นเอกสารทางที่ดินที่มีความน่าเชื่อถือที่สุด
หมายเหตุ ในการแย่งครอบครองนั้น สิทธิหมดลงเมื่อถูกครอบครองปรปักษ์ติดต่อกันนาน 10 ปี

2. ครุฑสีเขียว – หนังสือ น.ส.3 ก (หนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่มีตราครุฑสีเขียวและระวางรูปถ่ายทางอากาศ) เป็นหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดินนั้นๆไม่ใช่ “โฉนดที่ดิน” และไม่มีกรรมสิทธิ์ที่ดิน แต่ผู้ถือครองมีสิทธิ์ครอบครองเพื่อทำประโยชน์ในที่ดิน ซื้อ ขาย ให้เช่า โอน จำนองได้ ถูกต้องตามกฎหมาย หนังสือรับรองการทำประโยชน์ ครุฑเขียว สามารถทำเรื่องขอเปลี่ยนเป็นโฉนดที่ดินได้ โดยผู้ถือครองสิทธิ์อยู่สามารถนำหลักฐานไปออกเป็นโฉนดที่ดินได้ มีระวางรูปถ่ายทางอากาศ ขอบเขต และขนาดที่ดิน “ชัดเจน”
หมายเหตุ ในการแย่งครอบครองนั้น สิทธิหมดลงเมื่อถูกครอบครองปรปักษ์ติดต่อกัน 1 ปี

3. ครุฑสีดำ – หนังสือ น.ส.3 หรือ น.ส.3 ข (หนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่มีตราครุฑสีดำ ไม่มีระวางหรือรูปถ่ายทางอากาศ) เป็นเอกสารรับรองการทำประโยชน์ในที่ดินนั้นๆคล้ายกับ โฉนดที่ดินครุฑสีเขียว แต่ไม่มีระวางรูปถ่ายทางอากาศ ขอบเขต ขนาดที่ดิน “ไม่ชัดเจน” ใช้สำหรับเป็นหนังสือรับรองจะแสดงถึงสิทธิ์ หรือถ้าต้องการจะขายต้องรอประกาศ จากราชการ 30 วัน สามารถยื่นเรื่องเปลี่ยนเป็นโฉนดที่ดินได้
หมายเหตุ ในการแย่งครอบครองนั้น สิทธิหมดลงเมื่อถูกครอบครองปรปักษ์ติดต่อกัน 1 ปี

4. ครุฑสีน้ำเงิน – ส.ป.ก 4-01 (สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม) เป็นเอกสารที่ดิน “ไม่ใช่โฉนดที่ดิน” และยังไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินเป็นการครอบครองที่ดินชั่วคราว เพื่อใช้ทำการเกษตรเท่านั้น ห้ามใช้ที่ดินทำประโยชน์อย่างอื่นนอกเหนือจากการเกษตรเด็ดขาด หากผู้ถือครองผิดเงื่อนไขรัฐสามารถยึดคืนได้
หมายเหตุ ในการแย่งครอบครองนั้น แย่งครอบครองไม่ได้

สีครุฑในโฉนดที่ดินแต่ละแบบมีความแตกต่างกัน ทั้งการใช้งานและกรรมสิทธิ์ ดังนั้นในการทำธุรกรรมใดๆควรตรวจสอบและศึกษาข้อมูลให้ครบถ้วน จะได้ทำธุรกรรมได้อย่างปลอดภัย

 

สนใจจำนอง-ขายฝาก หรือปรึกษาปัญหา ติดต่อเราได้ทาง
Line: @homeeasycash
เบอร์โทร: 087-512-4936

นิติกรรมทั้ง2รูปแบบ คือการนำทรัพย์สินประเภทอสังหาริมทรัพย์ ไปเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันเพื่อแลกกับเงินก้อน คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าเป็นนิติกรรมในรูปแบบของการจำนอง และบางส่วนเข้าใจว่าเป็นนิติกรรมขายฝาก ทั้ง2รูปแบบมีวิธีการ ขั้นตอนที่คล้ายกัน จนคนส่วนใหญ่แยกไม่ออก และทำให้เกิดความสับสน

การจำนอง คืออะไร
การจำนอง เป็นการทำนิติกรรมในลักษณะของการนำทรัพย์สินมาเป็นประกันการชำระหนี้
กรณีทรัพย์สินที่จำนองเป็นอสังหาริมทรัพย์ ให้จดทะเบียน ณ สำนักงานที่ดินที่มีเขตอำนาจ และในกรณีอสังหาริมทรัพย์ ให้จดทะเบียน ณ สำนักทะเบียน ซึ่งรับผิดชอบงานจดทะเบียนสังหาริมทรัพย์ชนิดนั้น ๆ
ทั้งนี้ ผู้จำนองไม่จำเป็นต้องส่งมอบทรัพย์สินที่จำนองและยังคงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินที่จำนอง จึงมีสิทธิใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินที่จำนองต่อไปได้ แต่หากมีการผิดนัดชำระหนี้ที่มีการจำนองเป็นประกันแล้ว ผู้รับจำนองมีสิทธิฟ้องบังคับชำระหนี้และบังคับคดีกับทรัพย์สินที่จำนองได้ตามกฎหมาย

การขายฝาก คืออะไร
การขายฝาก เป็นการทำนิติกรรมในรูปแบบของการขายทรัพย์สิน ให้กับผู้รับซื้อฝาก โดยการทำสัญญา เอกสารขายฝาก และมีข้อตกลงกันว่าผู้ขายฝากสามารถไถ่ทรัพย์สินนั้นคืนได้ตามเงื่อนไขและระยะเวลาที่ตกลงกัน ซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ขายฝากจะตกเป็นของผู้รับซื้อฝากทันทีที่ขายฝากและได้ส่งมอบทรัพย์สินแก่ผู้รับซื้อฝาก

ก่อนจะเลือกทำนิติกรรมในรูปแบบใด สิ่งสำคัญก็คือการศึกษาข้อมูลให้ละเอียดก่อนเพื่อความปลอดภัยและผลตอบแทนที่เหมาะสมสำหรับคุณ

หากยังตัดสินใจไม่ได้ สามารถปรึกษาและสอบถามข้อมูลการจำนองและการขายฝากกับ Home Easy Cash เรามีทีมงานผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์พร้อมจะช่วยให้คุณได้รับข้อมูลที่ครบถ้วนและสามารถตัดสินใจในการใช้บริการได้อย่างถูกต้องและมั่นใจมากขึ้น

สนใจจำนอง-ขายฝาก หรือปรึกษาปัญหา ติดต่อเราได้ทาง
Line: @homeeasycash
เบอร์โทร: 087-512-4936

ราคาประเมินที่ดินเป็นการประเมินทรัพย์สินรูปแบบหนึ่งที่ได้รับการประเมินราคาที่ดินโดยกรมธนารักษ์ เพื่อใช้ประกอบการคำนวณค่าธรรมเนียมภาษีเงินได้ ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ ในกรณีที่ต้องโอนกรรมสิทธิ์ รวมถึงการซื้อ-ขายที่ดินว่าต้องมีค่าใช้จ่ายเท่าไร ในการทำนิติกรรมอสังหาริมทรัพย์ตามที่กฎหมายกำหนด โดยปกติการตรวจสอบราคาประเมินที่ดินจะสามารถทำได้ที่กรมที่ดิน แต่หากใครไม่สะดวกเดินทางไปกรมที่ดิน สามารถตรวจสอบราคาประเมินที่ดินออนไลน์ได้ ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ทั้งที่ดินที่มีโฉนด และที่ดินที่ไม่มีโฉนด

การตรวจสอบราคาประเมินที่ดินแบบมีโฉนด
1. เข้าใช้งาน เว็บไซต์กรมธนารักษ์ https://assessprice.treasury.go.th/
2. ค้นหาราคาประเมิน โดยสามารถค้นหาได้ 2 แบบ
– ค้นหาจากเลขที่โฉนด ด้วยการกรอกเลขที่โฉนด และจังหวัดที่ตั้งที่ดิน
– ค้นหาจากเลขที่ดิน ด้วยการกรอกเลขที่ดิน ระวาง และจังหวัดที่ตั้งที่ดิน
3. ดูราคาประเมินที่ดินได้ที่ด้านขวามือของตารางที่แสดงขึ้นมา

การตรวจสอบราคาประเมินที่ดินแบบไม่มีโฉนด
1. เข้าใช้งาน เว็บไซต์กรมที่ดิน https://landsmaps.dol.go.th/#
2. ซูมแผนที่เข้าไปค้นหาที่ต้องการตรวจสอบราคา หรือค้นหาจากจังหวัด เขต แขวง หรือค้นหาสถานที่สำคัญในบริเวณใกล้เคียง
3. เมื่อเจอที่ตั้งที่ดินที่ต้องการตรวจสอบราคา คลิก 2 ครั้ง ระบบจะแสดงขอบเขตที่ดินขึ้นมาให้คลิกไปบนกรอบขอบเขตที่ดินที่ต้องการดู จากนั้นรายละเอียดข้อมูลโฉนด ขนาดที่ดิน รวมถึงราคาประเมินจะปรากฎให้ได้ดูทันที

สนใจจำนอง-ขายฝาก หรือปรึกษาปัญหา ติดต่อเราได้ทาง
Line: @homeeasycash
เบอร์โทร: 087-512-4936

สำหรับผู้ที่ต้องการขายฝากที่ดิน โดยปกติแล้วการขายฝากที่ดินต้องจ่ายค่าธรรมเนียม 2 ส่วน ได้แก่ ค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนขายฝากที่กรมที่ดิน และค่านายหน้า

ค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนขายฝากที่กรมที่ดิน ประกอบไปด้วย
– ค่าคำขอ : แปลงละ 5 บาท เป็นค่าธรรมเนียมในการยื่นคำขอจดทะเบียนขายฝาก
– ค่าพยาน : 20 บาท เป็นค่าธรรมเนียมที่จ่ายให้กับพยานในการทำสัญญา
– ค่าธรรมเนียมการโอน : คิดเป็น 2% ของราคาประเมินที่ดินหรือราคาขายฝาก ขึ้นอยู่ว่าราคาใดสูงกว่า
– ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ : คิดเป็น 3.3% ของราคาประเมินที่ดินหรือราคาขายฝาก โดยจะเสียในกรณีที่ถือครองที่ดินน้อยกว่า 5 ปี หรือมีชื่อในทะเบียนบ้านน้อยกว่า 1 ปี
– ค่าอากรแสตมป์ : คิดเป็น 0.5% ของราคาประเมินที่ดินหรือราคาขายฝาก ขึ้นอยู่ว่าราคาใดสูงกว่า หากมีการเสียภาษีธุรกิจเฉพาะแล้ว จะได้รับการยกเว้นค่าอากรแสตมป์
– ค่าธรรมเนียมจดจำนอง : คิดเป็น 1% ของจำนวนเงินกู้หรือวงเงินจำนอง
– ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย คำนวณจากราคาประเมินที่ดิน
และค่าใช้จ่ายอีกส่วน ค่านายหน้า โดยทั่วไปจะคิด 5% ของยอดการขายฝาก บางกรณีผู้รับขายฝากอาจหักเงินนี้ไว้เองขึ้นอยู่กับข้อตกลง

สำหรับใครที่ยังสงสัยว่าค่าธรรมเนียมขายฝาก คิดยังไง ค่าธรรมเนียมการขายฝากมีการเปลี่ยนแปลงได้ จึงควรตรวจสอบข้อมูลที่เป็นปัจจุบันจากสำนักงานที่ดินในพื้นที่ที่คุณจะดำเนินการ และควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านภาษี หรือสอบถามข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ที่สำนักงานสรรพากรและสำนักงานที่ดิน เพื่อให้ได้รับคำแนะนำที่ถูกต้องและเหมาะสมกับกรณีของคุณ

สนใจจำนอง-ขายฝาก หรือปรึกษาปัญหา ติดต่อเราได้ทาง
Line: @homeeasycash
บอร์โทร: 087-512-4936