หลายคนยังคงสงสัยคำว่า “อสังหาริมทรัพย์” และ “สังหาริมทรัพย์” แต่ละคำนั้นมีกี่ประเภทแล้วแตกต่างกันอย่างไร
อสังหาริมทรัพย์ หมายถึง ทรัพย์สินที่ไม่สามารถเคลื่อนย้านได้ หรือหากต้องการจะเคลื่อนย้ายหรือทำลายก็ทำได้ยาก อย่างเช่น อาคาร บ้านเรือน โรงงาน สำนักงาน รวมถึงที่ดิน ไม้ยืนต้นและทรัพยากรทางธรรมชาติ อาทิ แม่น้ำ บึง แร่ กรวด ทราย ที่เป็นทรัพย์สินที่อยู่บนที่ดินนั้นๆ ก็จัดว่าเป็นอสังหาริมทรัพย์ เช่นกัน นอกจากนี้การถือครองอสังหาริมทรัพย์ไว้ในระยะยาวก็สามารถเพิ่มมูลค่าให้กับผู้ที่ถือครองได้ในอนาคต
ลักษณะเด่นของอสังหาริมทรัพย์
อสังหาริมทรัพย์ มีลักษณะเด่นที่จะช่วยกำหนดมูลค่าของอสังหาริมทรัพย์ให้กับนักลงทุน โดยสามารถแบ่งออกได้ 4 ลักษณะ ดังนี้
1. มูลค่าของอสังหาริมทรัพย์ขึ้นอยู่กับปัจจัยภายนอก ไม่ได้ขึ้นอยู่กับทรัพย์สินแต่ละขึ้นอยู่กับทำเลที่ตั้งและสภาวะเศรษฐกิจมากกว่าทรัพย์สินที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ อย่างเช่น ช่วงที่สภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ราคาของอสังหาริมทรัพย์ก็จะตกลงไปด้วย นักลงทุนจึงมักที่จะซื้ออสังหาริมทรัพย์เหล่านั้น เพื่อนำไปขายต่อในภายหลังที่สภาวะเศรษฐกิจดีขึ้นจะส่งผลให้อสังหาริมทรัพย์นั้นมีราคาที่สูงขึ้น
2. อสังหาริมทรัพย์ใช้ระยะเวลาค่อนข้างนานกว่าในการเปลี่ยนเป็นเงินสด การถือครองอสังหาริมทรัพย์มีความเสี่ยงมากกว่าการถือครองเงินสด เนื่องจากอสังหาริมทรัพย์นั้นมีราคาที่ค่อนข้างสูง ทำให้ผู้ซื้อต้องใช้เงินจำนวนมาก หรือต้องผ่านการขอสินเชื่อจากธนาคาร เพื่อนำเงินมาซื้ออสังหาริมทรัพย์นั้น ดังนั้นกว่าที่ผู้ขายจะสามารถขายและรับเงินก้อนโตมาได้ ต้องใช้ระยะเวลาในการพิจารณาค่อนข้างนาน
3. ราคาอสังหาริมทรัพย์มักเพิ่มขึ้นอยู่เสมอ ส่งผลให้เจ้าของพื้นที่ปล่อยราคาขาย เช่า และขายฝากไว้ในระยะยาวเพื่อรอให้อสังหาริมทรัพย์มีมูลค่าสูงขึ้นได้
4. อสังหาริมทรัพย์มีอายุขัยที่ยาวนาน อสังหาริมทรัพย์มีอายุขัยการใช้งานได้ถึง 50-100 ปี ผู้ที่ถือครองอสังหาริมทรัพย์ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินนั้น จะทำให้เจ้าของที่ถือครองอสังหาริมทรัพย์สามารถสร้างประโยชน์ได้จาการขายฝากหรือปล่อยเช่า เพื่อสร้างรายได้ในระยะยาวได้
ประเภทของอสังหาริมทรัพย์แบ่งตามการใช้สอย แบ่งออกเป็น 5 ประเภท
1. อสังหาริมทรัพย์เพื่อเกษตรกรรม เช่น ไร่นา สวน และพื้นที่หรือสิ่งปลูกสร้างสำหรับการเกษตรกรรม
2. อสังหาริมทรัพย์เพื่ออยู่อาศัย เช่น บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์โฮม คอนโด บ้านจัดสรร
3. อสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์ เช่น อาคารสำนักงาน ห้างสรรพสินค้า ตลาดสด ศูนย์ประชุม
4. อสังหาริมทรัพย์เพื่อการอุตสาหกรรม เช่น โรงงาน โกดัง และสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ ที่อยู่ในนิคมอุตสาหกรรม
5. อสังหาริมทรัพย์เพื่อการพัหผ่อน เช่น โรงแรม รีสอร์ท บังกะโล
ประเภทของอสังหาริมทรัพย์ตามนิยามจากประมวลแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 39 ระบุไว้ว่า ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์สำหรับใช้เป็นที่อยู่อาศัย เกษตรกรรม อุตสาหกรรม การพาณิชย์ และเป็นพื้นที่พักผ่อน ต้องประกอบไปด้วย 3 ปัจจัย ดังนี้
1. ที่ดิน ประเภทที่ดินที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ ได้แก่ พื้นที่ราบ ภูเขา หนอง คลอง บึง ห้วย ทะเลสาบ ชายทะเล และเกาะ
2. ทรัพย์อันติดกับที่ดิน ประเภททรัพย์ที่ติดกับที่ดินที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ ได้แก่ บ้านทุกประเภท อาคาร
3. ทรัพย์ซึ่งประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดิน ประเภททรัพย์เป็นอันเดียวกับที่ดินที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ ได้แก่ พื้นที่ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติอย่างแม่น้ำ ลำคลอง พื้นที่กรวดทราย และแร่ธาตุในพื้นที่ที่ผู้ขายเป็นเจ้าของ
นอกจากทั้ง 3 ปัจจัยแล้ว ยังมีทรัพย์สิทธิที่เจ้าของกรรมสิทธิ์ต้องแสดงหลักฐานในการยืนยันความเป็นเจ้าของอีกด้วย ได้แก่ เอกสารกรรมสิทธิ์, เอกสารสิทธิครอบครอง, สัญญาภาระจำยอม, ใบสิทธิอาศัย, ใบสิทธิเหนือพื้นดิน, ใบสิทธิเก็บกิน และสัญญาภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์
สังหาริมทรัพย์ หมายถึง ทรัพย์สินที่ไม่อยู่ติดกับพื้นดิน สามารถเคลื่อนย้ายได้และสามารถติดตัวไปไหนมาไหนได้ เช่น รถยนต์ กระเป๋า รองเท้า เสื้อผ้า โทรศัพท์มือถือ เครื่องประดับ นอกจากนี้ยังมี สิทธิบัตร หรือลิขสิทธิ์ ก็จัดได้ว่าเป็นสังหาริมทรัพย์ เช่นกัน
ประเภทของสังหาริมทรัพย์
1. สังหาริมทรัพย์ทั่วไป คือ ทรัพย์สินที่เคลื่อนที่ได้ด้วยแรงธรรมชาติหรือกายภาพ เช่น รถยนต์ รถจักรยานยนต์
2. สังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ คือ กฎหมายกำหนดให้เป็นพิเศษ หากต้องมีการจำหน่าย จ่าย หรือโอนให้กัน จะต้องมีการทำนิติกรรมต่อเจ้าหน้าที่พนักงานเหมือนอสังหาริมทรัพย์ เช่น เรือกลไฟ เรือที่มีระวางห้าตัน สัตว์พาหนะ
สรุปถึงความแตกต่างระหว่างอสังหาริมทรัพย์ และสังหาริมทรัพย์ให้เข้าใจกันง่ายๆ
ประเภท
อสังหาริมทรัพย์ : ทรัพย์สินที่ติดกับที่ดิน ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้
สังหาริมทรัพย์ : ทรัพย์อื่นที่นอกเหนือจากอสังหาริมทรัพย์ สามารถเคลื่อนย้ายได้
ทรัพย์สิน
อสังหาริมทรัพย์ : สิ่งปลูกสร้าง บ้านเรือน อาคาร ที่ดิน พื้นที่ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ
สังหาริมทรัพย์ : รถยนต์ เครื่องประดับ สิทธิบัตร ลิขสิทธิ์
ระยะการครอบครองปรปักษ์
อสังหาริมทรัพย์ : ระยะครอบครองปรปักษ์ 10 ปี
สังหาริมทรัพย์ : ระยะครอบครองปรปักษ์ 5 ปี
ทรัพย์สิทธิ
อสังหาริมทรัพย์ : มีทรัพย์สิทธิ เช่น สิทธิอาศัย สิทธิครองที่ดิน
สังหาริมทรัพย์ : ไม่มีทรัพย์สิทธิ
การยืนยันเป็นเจ้าของ
อสังหาริมทรัพย์ : เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ต้องมีเอกสารยืนยันเจ้าของกรรมสิทธิ์
สังหาริมทรัพย์ : เจ้าของสังหาริมทรัพย์ไม่จำเป็นต้องแสดงเอกสารยืนยันเจ้าของกรรมสิทธิ์
มูลค่า
อสังหาริมทรัพย์ : มีมูลค่าเพิ่มขึ้นทุกปี
สังหาริมทรัพย์ : มีมูลค่าต่ำลงตามอายุการใช้งาน
สนใจจำนอง-ขายฝาก หรือปรึกษาปัญหา ติดต่อเราได้ทาง
Line: @homeeasycash
เบอร์โทร: 087-512-4936